ส่องแฟชั่นญี่ปุ่น : ‘เบลเซอร์ & แจ็คเก็ต’ กับดีไซน์การเลียนแบบที่ไม่สมบูรณ์ในยุคฟองสบู่แตกของญี่ปุ่น
ม.ค. 28, 2025
ส่องแฟชั่นญี่ปุ่น : ‘เบลเซอร์ & แจ็คเก็ต ’ กับดีไซน์การเลียนแบบที่ไม่สมบูรณ์ในยุคฟองสบู่แตกของญี่ปุ่น
SOSHIOTSUKI แบรนด์เสื้อผ้า Unisex ญี่ปุ่นที่มีแนวคิดนำเสนอ “ความเป็น Dandy ที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยเทคนิคการตัดเย็บและจิตวิญญาณตามสไตล์ญี่ปุ่น”
“和” หรือความกลมกลืน คือชื่อธีมสำหรับคอลเลกชันในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนของปี 2025 โดยทางแบรนด์ SOSHIOTSUKI ได้นำเสนอจิตวิญญาณของ ‘ความกลมเกลียว’ ในยุคฟองสบู่แตกของญี่ปุ่น หรือจะกล่าวว่าเป็นการเลียนแบบก็ย่อมได้
หัวใจหลักของคอลเลกชันนี้คือ ‘ความรู้สึกขัดแย้ง’ ของนักออกแบบที่นึกถึงเบื้องหลังของเศรษฐกิจฟองสบู่ญี่ปุ่น โดยในช่วงนั้นระดับรายได้เพิ่มขึ้นพร้อมกับเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งวัฒนธรรมผู้บริโภคก็เริ่มคึกคักมากขึ้น
ผลลัพธ์คือ แม้จะมีจิตสำนึกเกี่ยวกับแฟชั่นมากขึ้น แต่กลับรู้สึกแปลกที่เสื้อผ้าขายได้เพียงเพราะติดป้ายว่า “ผลิตในอิตาลี”
สำหรับคอลแลคชันทั้งหมดนี้เป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกขัดแย้งที่เกิดจากการเลียนแบบของวัฒนธรรมต่างประเทศอย่างผิวเผิน โดยจะเน้นย้ำความรู้สึกขัดแย้งในช่วงยุคฟองสบู่แตกที่แสวงหาเสน่ห์จากรูปลักษณ์ภายนอกอย่างผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในอิตาลี ยกตัวอย่างเช่น ‘เสื้อแจ็คเก็ต’ จะมีการดีไซน์ไม่ให้ดูสง่าผ่าเผยเกินไป ซึ่งตำแหน่งของ Gorge Line, กระเป๋าเสื้อ, ความยาวของรอบเอว (Waistline), และกระดุมข้อมือจะถูกปรับให้ต่ำลงมา
ปกติแล้วดีเทลชุดสูทของอิตาลีมักจะถูกจัดวางให้สูงขึ้น เพื่อให้ความรู้สึกถึงความสง่าผ่าเผยของผู้ชาย แต่ชุดสูทของ SOSHIOTSUKI ในฤดูกาลนี้จะออกแบบมาเพื่อสร้างความรู้สึกขัดแย้งและความไม่เข้ากันในทุกรายละเอียดที่เกิดจากจิตสำนึกการเลียนแบบที่ไม่สมบูรณ์
แม้แต่ภาพเงา ก็ยังสามารถมองเห็นความแตกต่างที่เกิดจากการเลียนแบบชัดเจน โดยในช่วงปี 1980 ชุดสูทสไตล์อิตาลีที่มีลักษณะเพรียวบางเข้ารูปอย่างโดดเด่นนั้นถือเป็นมาตรฐานทางสังคม ในทางกลับกัน ชุดสูทของ SOSHIOTSUKI จะนำเสนอรูปทรงที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลายที่มาพร้อมแผ่นรองไหล่และความยาวของชุด
นอกจากนี้ ผลลัพธ์ของความรู้สึกขัดแย้งที่เกิดจากการเลียนแบบสไตล์อิตาลีนั้นยังปรากฏให้เห็นจากเนื้อผ้าที่ยับ ซึ่งเนื้อผ้านี้ได้รับแรงบันดาลใจมากจากผ้า Wool Serge ของจอร์โจ อาร์มานี (Giorgio Armani) ดีไซเนอร์ระดับไฮเอนด์ของอิตาลีในช่วงปี 1980 – 1990 เป็นวัสดุใหม่ที่สร้างมาจากความเข้าใจผิดที่ว่าเนื้อสัมผัสผ้าที่ไม่เรียบของผ้า Wool Serge นั้นมีความคล้ายคลึงกับ ‘ผ้าเครป’ ของกิโมโนญี่ปุ่น ทั้งนี้ทางแบรนด์ SOSHIOTSUKI ยังตั้งใจซักผ้าให้ยับแล้วนำไปอบด้วยความร้อนเพื่อสร้างลายและรอยยับอีกด้วย
แม้แต่เธรดสีผ้าที่เลือกใช้ยังเป็นจิตสำนึกการเลียนแบบของคนญี่ปุ่นในสมัยนั้น
“สีเทา” เป็นสีที่หรูหราและเป็นทางการ ซึ่งในสมัยก่อนจะรู้จักกันในชื่อ “สีหนูท่อระบายน้ำ” ต่อมาในช่วงปี 1980 ได้มีการนำสีมาผลิตซ้ำตามตัวอย่างที่เหลือไว้ในโรงงานสิ่งทอแบบดั้งเดิมในภูมิภาคบิชู (Bishu Region) ปัจจุบันคือจังหวัดไอจินั่นเอง
ที่มา
https://www.fashion-press.net/news/120869
อ่านบทความอื่นๆจาก fromJapan
- เติมเต็มความฝันวัยเด็กไปกับ ‘รถไฟชินคันเซ็น’ รุ่นพิเศษในธีม Disney สุดอลังการ✨
- พิพิธภัณฑ์ศิลปะชิโมเสะ จ.ฮิโรชิม่า คว้ารางวัล Prix Versailles ‘พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่สวยที่สุดในโลก”
- ฤดูใบไม้ผลิ ปี 2025 รถไฟชินคันเซ็นโนโซมิ เตรียมลดจำนวนที่นั่งแบบไม่ต้องจอง!
- จัดอันดับคนดวงดีแบบญี่ปุ่น ปี 2025 (ปีนักษัตร + ราศี + กรุ๊ปเลือด)
มากดไลค์เพจ fromJapan กันเถอะ!
รู้หรือเปล่าว่าพวกเรามี official fanpage ด้วยนะ!
ถ้าไม่อยากพลาดเทรนด์ ข่าวสาร หรือกิจกรรมสนุกๆ ก็ต้องกดไลค์เพจเราแล้วล่ะ