จริงหรือที่มันแตกต่าง? “การจัดสำรับอาหารญี่ปุ่น” ระหว่างคันโตและคันไซไม่เหมือนกัน!
เม.ย. 01, 2024
- ข้อมูลต่างๆ
- ข่าว
- มารยาท
- วัฒนธรรม
- หมวดหมู่
- อาหาร
- เทรนด์
- พื้นที่
- คันโต
- โตเกียว
- คานากาวะ
- ชิบะ
- ไซตามะ
- กุนมะ
- อิบารากิ
- โทชิงิ
- คันไซ
- โอซาก้า
- เกียวโต
- เฮียวโกะ
- นารา
- มิเอะ
- ชิกะ
- วาคายามะ
จริงหรือที่มันแตกต่าง? “การจัดสำรับอาหารญี่ปุ่น” ระหว่างคันโตและคันไซไม่เหมือนกัน!
อย่างที่หลายๆคนอาจจะทราบกันดีว่ามารยาทในการขึ้นบันไดเลื่อนในภูมิภาคคันโตและภูมิภาคคันไซนั้นมีความแตกต่างกัน คนในแถบคันโต (Kanto) จะยืนชิดซ้ายและเดินชิดขวา ส่วนคนในแถบคันไซ (Kansai) จะยืนชิดขวาและเดินชิดซ้ายเหมือนที่ไทย
นอกจากความแตกต่างในการใช้บันไดเลื่อนแล้ว ทุกคนทราบกันหรือยังว่า มารยาทในการรับประทานอาหารอย่าง ‘การจัดสำรับอาหารญี่ปุ่น’ ของทั้งสองภูมิภาคนี้ยังมีความแตกต่างกันด้วยเช่นกัน
ในบทความนี้ เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักเกี่ยวกับมารยาทในการรับประทานอาหารญี่ปุ่น ตั้งแต่วิธีการจัดสำรับอาหารและเครื่องเคียงที่ถูกต้อง รวมถึงความแตกต่างในการจัดสำรับอาหารญี่ปุ่นของภูมิภาคคันโตและภูมิภาคคันไซกันค่ะ!
การจัดวางสำรับอาหารญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือแบบไหน?
“อิชิจู-ซันไซ” (Ichiju-Sansai / 一汁三菜) คือพื้นฐานอาหารญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมที่ประกอบไปด้วย อาหารหลัก (ข้าว), ซุป (ซุปมิโซะหรือซุปอื่นๆ ฯลฯ), และกับข้าว 3 อย่าง ซึ่งจะแบ่งออกเป็น อาหารจานหลัก (กับข้าวหลัก เช่น ปลาย่าง ซาชิมิ ฯลฯ), เครื่องเคียง (อาหารที่ทำโดยการต้ม การเคี่ยว ซึ่งจะเรียกว่า ‘นิโมโนะ’ (Nimono) และไข่ม้วน ฯลฯ), และเครื่องเคียงรอง เช่น ผักดองและยำผัก ฯลฯ
โดยหลักการจัดสำรับแบบอิชิจู-ซันไซนี้ได้รับความนิยมในหมู่ชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการเสิร์ฟในปริมาณที่พอเหมาะและยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่ครบถ้วน
ต่อไปเราจะพาไปดูวิธีการจัดวางสำรับอาหารแต่ละจานว่าจะเป็นอย่างไร โดยหลักการคือ ‘ต้องง่ายต่อการทาน’
โดยทั่วไปแล้วผู้คนในโลกส่วนใหญ่จะถนัดขวา ซึ่งชาวญี่ปุ่นในสมัยก่อนก็น่าจะมีคนถนัดขวาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงยุคซามูไรที่เห็นได้ชัดเจนจากการที่ซามูไรมักจะสะพายดาบไว้ที่เอวข้างซ้าย ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้ใช้มือขวาชักดาบออกมาได้อย่างถนัดนั่นเอง
นอกจากนี้ยังมีอีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวไว้ว่า “การหยิบชามอาหารคร่อมชามข้าวซึ่งเป็นอาหารจานหลักที่สำคัญที่สุดนั้นถือว่าเสียมารยาท” ดังนั้น อาหารแต่ละจานจึงต้องวางอยู่ในตำแหน่งที่เอื้อต่อการถือและหยิบทานได้สะดวก โดยจะถือตะเกียบไว้ที่มือขวาและถือชามข้าวไว้ในมือซ้าย ด้วยเหตุนี้ ชามข้าวจึงต้องวางอยู่ด้านหน้าทางซ้ายมือนั่นเอง
ต่อไปเราจะไปดูตำแหน่งของสำรับอาหารแต่ละจานกันค่ะ
- ข้าวจะวางอยู่ด้านหน้าทางซ้ายมือ
- ซุปมิโซะหรือซุปอื่นๆ จะวางอยู่ทางด้านขวาตรงข้ามกับข้าว
- เครื่องเคียงรอง เช่น ผักดอง จะวางอยู่ตรงกลางระหว่างข้าวและซุป
- เครื่องเคียง จะวางอยู่ด้านหลังทางด้านซ้ายมือ เช่น ไข่ม้วนหรืออาหารที่ทำโดยการต้ม การเคี่ยว ซึ่งจะเรียกว่า ‘นิโมโนะ’ (Nimono) ฯลฯ
- กับข้าวหลัก เช่น ปลาย่าง ปลาซาบะย่าง ซาชิมิ ฯลฯ จะวางอยู่ด้านหลังทางขวามือ
สำหรับการจัดเรียง ‘กับข้าวหลัก’ และ ‘เครื่องเคียง’ ไว้ด้านหลังเช่นนี้ถือว่าถูกต้องตามมารยาทในการรับประทานอาหารญี่ปุ่น อีกทั้งการจัดสำรับอาหารญี่ปุ่นสไตล์นี้ยังได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากผู้เชี่ยวชาญด้านมารยาทและหนังสือเรียนเกี่ยวกับมารยาท ด้วยประการนี้คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่และคนในแถบคันโตจึงยึดเกณฑ์การจัดวางสำรับอาหารดังกล่าวมาเป็นบรรทัดฐานนั่นเอง อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจพบว่าคนในแถบคันไซ (Kansai) ส่วนใหญ่นั้นได้มีการจัดสำรับอาหารญี่ปุ่นแตกต่างออกไป โดยจะวาง ‘ซุป’ ไว้ด้านหลังข้าวทางซ้ายและวาง ‘กับข้าวหลัก’ ไว้ด้านหน้าทางขวามือ ส่วน ‘เครื่องเคียง’ จะวางไว้ด้านหลังทางขวา
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจากผลการสำรวจเกี่ยวกับตำแหน่งของซุปตามพื้นที่ในต่างจังหวัดแล้ว พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่า 70% ที่อยู่ในจังหวัดโอซาก้า จังหวัดเกียวโต และจังหวัดเฮียวโกะนั้นได้ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “วางซุปมิโซะไว้ด้านหลังทางซ้าย”
ส่วนจังหวัดที่ตอบว่า “วางซุปมิโซะไว้ด้านหน้าทางขวา” ตามเกณฑ์พื้นฐานการจัดสำรับอาหารญี่ปุ่นนั้นได้แก่ จังหวัดโตเกียว จังหวัดไซตามะ และจังหวัดคานากาวะ โดยเฉพาะจังหวัดกุมมะมีคนถนัดขวามากถึง 85% (*อ้างอิงจากการสำรวจของเว็บไซต์ j-town.net ปี 2018)
จากผลสำรวจจะเห็นได้ว่าการจัดสำรับอาหารญี่ปุ่นระหว่างภูมิภาคคันโตและคันไซนั้นมีความแตกต่างกันอย่างแน่นอน
การจัดวาง “ซุปไว้ด้านหลังข้าวทางซ้าย” ที่ได้รับความนิยมในแถบคันไซนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร?
ว่ากันว่า “การวางกับข้าวหลักไว้ด้านหน้า จะทำให้รู้สึกว่าเราได้ปริมาณอาหารเยอะ” ซึ่งทฤษฎีนี้เป็นการตีความตามกลยุทธ์ค้าขายของเหล่าพ่อค้า ทั้งนี้ดูเหมือนว่านักวิจัยด้านวัฒนธรรมอาหารก็ได้มีการนำทฤษฎีดังกล่าวนี้มาประยุกต์ใช้เช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ยังมีแนวคิดอื่นๆอีกมากมาย เช่น ทฤษฎีของคนคันไซที่ให้เหตุผลว่า “หากเราวางกับข้าวหลักไว้ด้านหน้าและวางซุปไว้ด้านหลังนั้นจะสะดวกต่อการหยิบอาหารกว่าและไม่ต้องกังวลว่าเราจะเผลอเอามือไปโดนถ้วยน้ำซุปหก”
นอกจากนี้ยังมีทฤษฎีที่ว่า “เหตุผลที่คนคันโตวางซุปมิโซะไว้ด้านหน้านั้นก็เพราะว่าซุปมิโซะมีตำแหน่งสูงเป็นอันดับสองรองจากข้าว” แต่ทว่าในแง่ของคนคันไซนั้นกลับมีปริมาณการบริโภคมิโซะอยู่อันดับรองสุดท้ายของประเทศ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าตำแหน่งของซุปมิโซะในคันไซนั้นอาจจะไม่ได้อยู่อันดับสูง ดังนั้น คนคันไซจึงวางซุปมิโซะไว้ด้านหลังนั่นเอง รวมถึงยังมีทฤษฎีหนึ่งได้กล่าวอีกว่า “ตำแหน่งของมิโซะจะสูงหรือต่ำนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละภูมิภาค”
หลังจากเราทราบถึงความแตกต่างของการจัดสำรับอาหารญี่ปุ่นในภูมิภาคคันโตและภูมิภาคคันไซกันไปแล้ว เราเชื่อว่าหลายคนอาจจะมีข้อสงสัยว่าแล้วร้านอิซากายะและร้านอาหารทั่วญี่ปุ่นนั้นเขาจัดสำรับอาหารกับแบบไหน?
คำตอบคือ เนื่องจากมีหลักปฏิบัติพื้นฐานในการเสิร์ฟอาหาร ดังนั้นวิธีการจัดสำรับจึงไม่ขึ้นอยู่กับภูมิภาค ร้านอาหารในญี่ปุ่นส่วนใหญ่จึงจัดวางซุปไว้ทางด้านขวาของข้าวตามมาตรฐานนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม มารยาทในการรับประทานอาหารญี่ปุ่นนั้นเกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมอาหาร ดังนั้นจึงไม่มีคำตอบที่ถูกต้องแน่นอนว่าการจัดวางสำรับอาหารที่แท้จริงต้องจัดอย่างไร อีกทั้งมารยาทที่ใช้ก็อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับภูมิภาคหรือครอบครัว
ที่มา
https://www3.nhk.or.jp/news/special/maruwaka-migake/articles/article_20.html
https://www.shoku-do.jp/column/co_0021/
https://www.nikkei.com/article/DGXMZO35014150V00C18A9AA2P00/
อ่านบทความสนุกๆจาก fromJapan ✨
- มารยาทในการขึ้นบันไดเลื่อนที่ญี่ปุ่น
- เปิดตำรา “วิธีกินซูชิ” ให้อร่อยตามสไตล์ญี่ปุ่นแท้ๆ!
- ฟันดำเท่ากับสวย! ชวนรู้จัก ‘โอฮากุโระ’ ค่านิยมความงามสุดแปลกของสาวญี่ปุ่นโบราณ
- ญี่ปุ่นยุคใหม่เปลี่ยนไปแล้วนะ! เรียนรู้ 7 ค่านิยมของสังคมญี่ปุ่นที่เปลี่ยนไป
- รวมทริคเด็ด 5 วิธีหาเพื่อนชาวญี่ปุ่นระหว่างทริป!
มากดไลค์เพจ fromJapan กันเถอะ!
รู้หรือเปล่าว่าพวกเรามี official fanpage ด้วยนะ!
ถ้าไม่อยากพลาดเทรนด์ ข่าวสาร หรือกิจกรรมสนุกๆ ก็ต้องกดไลค์เพจเราแล้วล่ะ